ฉีกกฎเดิมๆ ก้าวผ่านความกลัวจากงานประจำสู่ธุรกิจสตาร์ทอัพ

ฉีกกฎเดิมๆ ก้าวผ่านความกลัวจากงานประจำสู่ธุรกิจสตาร์ทอัพ

ฉีกกฎเดิมๆ ก้าวผ่านความกลัวจากงานประจำสู่ธุรกิจสตาร์ทอัพ

 

            เคยได้ยินหลายคนพูดว่า “ทำงานประจำก็ดีอยู่แล้ว จะออกมาเสี่ยงกับอะไรที่เราไม่รู้หนทางข้างหน้าทำไม” นั่นคือคำพูดของคนที่ไม่กล้าหลุดออกจาก Comfort Zone และก็ไม่ง่ายเลยที่จะก้าวผ่านความกลัวตรงนี้ได้ รวมถึงไม่ใช่ทุกคนจะสามารถทำได้ เราจะไม่พูดว่า ออกมาแล้วต้องทำสำเร็จ เพราะค่าความสำเร็จของแต่ละคนไม่เท่ากัน

เอาชนะความกลัวด้วย Passion
         
รู้หรือไม่ว่า ธุรกิจสตาร์ทอัพเริ่มมาจาก Passion ของคน ๆ หนึ่ง ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองความต้องการของคนบนโลกนี้ และในขณะเดียวกัน มันคือการนำ Passion มาทำให้เป็นเงิน การจะเริ่มต้นธุรกิจสักอย่างหนึ่ง เชื่อแน่ว่าหลายคนต้องผ่านความกลัว ความกังวล ว่าทำไปแล้ว จะเจ๊งไหม หรือแม้กระทั่งการสงสัยและตั้งคำถามในตัวเอง ว่าคนอย่างฉันจะทำได้เหรอ เคยมีการศึกษาหนึ่งบอกว่ากรที่เราบอกตัวเองซ้ำ ๆ มันจะถูกฝังลงไปในจิตใต้สำนึก ทำให้เราสามารถทำสิ่งนั้นได้อย่างอัตโนมัติ เช่น ถ้าเรากลัว ไม่กล้าจะออกจากงานประจำ เราก็อาจจะบอกตัวเองซ้ำ ๆ ว่า ฉันไม่กลัว ฉันทำได้ บางคนคิดแต่ไม่กล้าลงมือทำ เอาแต่รอ รอให้มีเงินที่มากพอ รอนั่นรอนี่ไปเรื่อย ๆ นั่นจะกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ให้เราไม่เริ่มต้นสักที ชีวิตคนเรามันไม่ได้พร้อมแบบเพอร์เฟค 100% แต่มันอาศัยการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนไปตลอดทั้งชีวิต ขอแค่คุณมั่นใจว่าปัญหาที่คุณต้องการแก้คือปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ๆ และมีพลังมากพอที่จะทำให้มันเกิดขึ้นมาจริง ๆ

Picture2

 

ควรเริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างไรให้เวิร์ค
         
ถ้ามีใครบอกว่าเราควรเริ่มต้นธุรกิจจากสิ่งที่เราชอบแล้วจะประสบความสำเร็จ บอกเลยค่ะว่า มันเป็นแค่คำพูดลอย ๆ เนื่องจากสิ่งที่เราชอบมันอาจจะไม่ได้มีเพียงแค่หนึ่งอย่าง มันยากที่เราจะไล่ทดสอบความชอบและ Passion ว่าเป็นสิ่งที่ผู้คนสนใจมันหรือเปล่า ดังนั้น ทางที่ง่ายกว่าคือการค้นหาว่าผู้คนต้องการอะไร แล้วเอา Passion หรือ skill ที่คุณมีไปสร้างคุณค่า เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนเหล่านั้น

            อ่านมาถึงตรงนี้ คุณอาจกำลังสงสัย ว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้คนต้องการอะไร? เราจะต้องทำการวิเคราะห์ออกมาก่อนด้วยสมการง่าย ๆ ที่ว่า “Passion + Skill -> Problem + Market = Opportunity” จากนั้นให้คุณมีมุมมองในการคิดที่จะทำธุรกิจว่า
            1) เริ่มต้นที่ปัญหา เนื่องจากปัญหาจะช่วยให้เราสามารถประเมินขนาดของตลาด (หมายถึง ผู้คนที่ประบกับปัญหานั้นอยู่) เพื่อตีออกมาเป็นมูลค่าของธุรกิจ ว่าธุรกิจของเราจะทำเงินได้เท่าไหร่ ซึ่งในการวิเคราะห์ปัญหาปัญหาที่เหมาะกับธุรกิจสตาร์ทอัพ ให้เน้นปัญหาที่หนักหนาสาหัสและยังหาทางออกไม่ได้ จุดนี้ถ้าคุณกลัว จบเลยนะคะ ต่อมา เน้นปัญหาที่ใหญ่ หมายถึงปัญหานี้กระทบต่อผู้คนจำนวนมาก และอย่างสุดท้ายคือ เน้นปัญหาที่ยาวนานจนดูเหมือนจะเรื้อรัง

Picture3
            2) จากนั้น ควรเริ่มต้นธุรกิจด้วยต้นทุนที่ต่ำไว้ก่อน จากน้อยไปมาก เพราะหากมีอะไรผิดพลาด เรายังพลิกฟื้นตัวได้ง่ายกว่า อีกทั้ง ต้นทุนที่ต่ำสามารถขยายไปให้สูงขึ้นได้ในอนาคต แล้วต้นทุนที่สูงตั้งแต่ต้น มันจะทำให้เราจมไม่ลง ปรับแก้ได้ลำบากมากกว่า
            3) และสุดท้าย เริ่มต้นลงมือทำ อย่ามัวแต่คิด ฝันจะเป็นจริงแล้ว เพียงแค่เราลงมือทำ ถ้าฝันยังคงล่องลอยอยู่แค่เพียงในหัว มันก็เท่ากับเป็นแค่ฝันกลางวัน

Picture4

 

            แค่ก้าวผ่านความกลัวได้ คุณก็ไปต่อได้ ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ถ้าเรามีความรู้ และพร้อมที่จะลงมือทำ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ไม่อยากติดกับการวนลูปอยู่กับงานประจำเดิม ๆ จงทำตาม Passion ที่คุณมี Passion และ Skill ที่คุณมี ถ้าไปตรงกับความต้องการของผู้คนได้ อย่างไรมันก็คือโอกาสทางธุรกิจ แต่หากใครยังไม่กล้าจะเดินออกจาก Comfort Zone จริง ๆ เอาแนวทางข้างต้นนี้ไปใช้ในการต่อยอดเพื่อเกิดรายได้เสริมก็ได้ค่ะ
            ถึงตรงนี้ เราอาจจะตอบคำถามของคนในตอนต้นได้แล้ว ว่าในช่วงเริ่มต้นของการทำธุรกิจ ความมั่นคงอาจจะยังเป็นศูนย์ เพราะเต็มไปด้วยความเสี่ยง แต่พอทำไปนาน ๆ เข้า จนเกิดทักษะความชำนาญ ความเสี่ยงนั้นจะค่อย ๆ ลดลง และถูกแทนที่ด้วยความมั่งคั่งนั่นเอง